วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ(English for Integrated Studies : EIS) เป็น

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยที่เป็นรูปแบบที่พยายามปรับปรุง

ประสิทธิผลของการพัฒนาหลักสูตรโดยเฉพาะด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและการ

คิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่มีผลการเรียนรู้ตกต่ำมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ถึงแม้ว่ารัฐบาล

โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายและแนวทางการแก้ปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ

( กระทรวงศึกษาธิการ,2542) ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาแบบสองภาษามีชื่อเรียกสั้นๆว่า

โครงการ EP(English Program)และ MEP (Mini – English Program) จะเป็นแนวทางหนึ่งที่

แก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังขาดหลักการของความพอประมาณ ไม่มี

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยอาศัยชาวต่างชาติซึ่ง

ถ้าไม่เข้าใจในรากฐานวัฒนธรรมของไทยอย่างดีแล้วจะนำไปสู่ความไม่สมดุลยั่งยืนในการ

แก้ปัญหาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งรากฐานบริบทของวีถีชีวิตที่ยั่งยืนแบบ

ไทยๆ อีกทั้งยังไม่สามารถกระจายการจัดการศึกษารูปแบบดังกล่าวไปสู่กลุ่มประชากรส่วนใหญ่

ของประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีพอ แต่รูปแบบEIS ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยผู้นำเสนอ

และโรงเรียนสุนทรภู่พิทยาโดยร่วมมือกับโครงการหลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยบูรพาเมื่อต้น

ปีการศึกษา 2548 ตลอดระยะเวลา 3 ปีของการพัฒนานวตกรรมหลักสูตรรูปแบบ EIS ทำให้

ผลสัมฤทธิ์ และผลการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่

เกือบจะขาดโอกาสได้รับการพัฒนาไม่แตกต่างไปจากโรงเรียนยอดนิยมที่มีชื่อเสียงในเมือง และ

โรงเรียนในโครงการEPและ MEP ยิ่งไปกว่านั้นเพียงระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี นวัตกรรมด้าน

หลักสูตร EIS ยังสามารถพัฒนาศักยภาพของครูไทย ที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ

คอมพิวเตอร์ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาไม่เคยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนมาก่อน

ให้มีสมรรถนะสอนวิชาดังกล่าวโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อได้เกือบไม่แตกต่างจากครูต่างชาติ

หรือเจ้าของภาษาที่สอนอยู่ในโรงเรียนที่จัดโครงการ EPและ MEP ของไทย ซึ่งถือว่ารูปแบบEIS

เป็นนวัตกรรมด้านการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและทรัพยากรครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษา

ขั้นพื้นฐานบนวิถีไทยแบบยั่งยื่นสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังได้รับความ

สนใจจากโรงเรียนต่างๆทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศอย่างมากมาย ได้นำหลักสูตรรูปแบบ

EIS ไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทโรงเรียนของตนได้

อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการ/ที่มาและความสำคัญ

เป็นที่ยอมรับกันว่าภาษาอังกฤษได้มีการใช้อย่างกว้างขวางในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่า

จะเป็นในด้านของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ( Cenoz & Jessner, 2000)

ประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษโดยกำหนดเป็นนโยบาย

และบรรจุไว้เป็นสาเหตุสำคัญในการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ

พุทธศักราช 2544(กระทรวงศึกษาธิการ, 2545) อีกทั้งรัฐบาลต่อๆมายังให้ความสำคัญกับการ

เรียนรู้ภาษาอังกฤษมาโดยตลอด ดังเช่น นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้กล่าวไว้เมื่อ

วันที่18 มกราคม 2550ว่า “เยาวชนจำเป็นต้องเรียนรู้และให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ เพื่อให้

เราเข้าใจประเทศอื่นๆ...” (อ้างไว้ในวัฒนาพร ระงับทุกข์, 2550, หน้า 6)

ถึงแม้ว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ได้กระจายอำนาจการจัดหลักสูตรให้

สถานศึกษาเพื่อจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น และได้

ดำเนินการผ่านทางหลักสูตรสถานศึกษาใช้มาแล้วอย่างน้อย 6 ปี ยังพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางด้านการ

เรียนของนักเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา2547-2550 ในวิชา

ภาษาอังกฤษโดยภาพรวมของประเทศ ต่ำกว่าทุกสาระวิชาและมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด

(สุรพงศ์,2551) แต่เมื่อมาพิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนจาก

โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโครงการหลักสูตรสองภาษา หรือ โครงการ EP(English Program)

หรือ MEP(Mini-English Program) ของกระทรวงศึกษา และโครงการพัฒนาการเรียนการสอน

โดยรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการหรือรูปแบบEIS(English for

Integrated Studied)ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นโครงการวิจัยและทดลองของ

โรงเรียนสุนทรภู่พิทยาร่วมกับโครงการบัณฑิตศึกษาหลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา

กลับพบว่ามีคะแนนในระดับที่สูงกว่านักเรียนหลักสูตรปกติอย่างชัดเจน อีกทั้งนักเรียน

เหล่านั้นยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษพูดสื่อสารได้เป็นอย่างดี (คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

,2548, สุรพงศ์ งามสม,2547,2549,2550) แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่แนวคิด

หลักของการบูรณาการภาษาอังกฤษในหลักสูตร, การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตาม

หลักสูตร, ครูผู้สอนและการพัฒนาครูผู้สอน อันส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ

จัดการเรียนการสอนรูปแบบEISดังกล่าวอีกทั้งยังสามารถตอบโจทย์ปัญหาสำคัญหลักที่เกิดขึ้น

ในโครงการ EP และ MEP ดังนี้

ครูต่างชาติที่เข้ามาสอน จะทำอย่างไรเราถึงจะได้ประโยชน์จากภูมิปัญญาของเขา

และถ้าเขาจากเราไปแล้วเขายังเหลืออะไรไว้ให้เรา? แล้วจะทำอย่างไรถึงกับผู้ปกครองที่มีฐานะ

ทางเศรษฐกิจไม่ดีถึงจะให้บุตรหลานมีโอกาสได้เรียนในโรงเรียนสองภาษาเหล่านั้นบ้าง ?และ มี

การพัฒนาหลักสูตรแบบสองภาษาแบบใดบ้าง ที่ครูคนไทยสามารถนำไปออกแบบการสอนหรือ

ผู้บริหารสามารถนำไปบริหารจัดการเรียนการสอน เพื่อแก้ปัญหา 2 ข้อ ดังกล่าวข้างต้นได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

เนื่องจากการแก้ปัญหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนาหลักสูตรและ

กระบวนการเรียนการสอนโดยเฉพาะด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีผลการเรียนรู้ตกต่ำ

มาโดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี โดยขาดการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

ถึงแม้ว่าแนวทางการจัดการศึกษาแบบสองภาษาในรูปแบบ EPหรือ MEP จะเป็นแนวทางหนึ่งที่

แก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังขาดหลักการของความพอประมาณ ไม่มี

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยอาศัยชาวต่างชาติซึ่ง

ถ้าไม่เข้าใจในรากฐานวัฒนธรรมของไทยอย่างดีแล้วจะนำไปสู่ความไม่สมดุลยั่งยืนในการ

แก้ปัญหาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นรากฐานบริบทของวีถีชีวิตที่ยั่งยืน

แบบไทยๆ

ผู้เขียนเห็นว่าการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบ EIS เป็นการส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรและ

กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ทำให้ผู้เรียนปรับตัวพร้อมรับต่อ

การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร แก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน

ภาษาอังกฤษและการคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิผล เกิดความสมดุล ยั่งยืน ดำเนินการโดยยึด

หลักความมีเหตุมีผล ความพอประมาณและมีภูมิคุ้มกันสอดคล้องแนวคิดตามหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นนวตกรรมการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานบนวิถีชิวิตไทยแบบ

ยั่งยืน จึงขอนำเสนอนวตกรรมด้านหลักสูตรรูปแบบEIS โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ

ดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์

1. นำเสนอองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลให้รูปแบบ EIS เป็นนวัตกรรมด้านการพัฒนา

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ

2. นำเสนอรูปแบบในการพัฒนาครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบ EIS ให้มี

ประสิทธิผล

3. นำเสนอสัมฤทธิ์ผลจากนวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบ EIS

แนวทางการพัฒนาและผลการดำเนินงาน

1. สภาพปัญหาก่อนการดำเนินการพัฒนารูปแบบ (EIS)

เนื่องจากพบว่าการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตาม

หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2521 (ปรับปรุง2533)เดิม ไม่สามารถทำให้ประชาชน

คนไทย ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารและแสวงหาความรู้ที่มีอย่างหลากหลายในยุคแห่ง

ข้อมูลข่าวสารนี้ได้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545 ) ในปี พ.ศ. 2542 หลังจากที่พระราชบัญญัติ

การศึกษา พุทธศักราช 2542 มีการบังคับใช้ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการเรียนการสอนแบบ

หลักสูตรสองภาษา” ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” เรียกชื่อนี้เป็นทางการว่า “โครงการ English

Program หรือโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ”

ปัจจุบันโรงเรียนในประเทศไทยที่จัดการศึกษารูปแบบดังกล่าวข้างต้นมีไม่เกิน 200 โรงเรียนเมื่อ

เทียบกับจำนวนโรงเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐและเอกชนประมาณ 35,500 แห่ง

ทั่วประเทศ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2548) จากการที่โรงเรียนเหล่านั้นได้

ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบหลักสูตรสองภาษาดังกล่าว จากงานการศึกษาของสุรพงศ์

(2547) ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหลักสูตรสองภาษามาโดย

ตลอด ได้ค้นพบว่ารูปแบบการจัดการศึกษาแบบสองภาษาส่งผลให้ผู้เรียนไทยสามารถใช้

ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารและการเรียนรู้ในยุคสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2548; สุรพงศ์ งามสม, 2547) แต่ก็ยังพบปัญหาที่

ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาใน 3 ประเด็นดังนี้

1. โรงเรียนที่จัดทำโครงการแบบหลักสูตรสองภาษาโดยทั่วไปมีปัญหาเกี่ยวกับ

ประสิทธิภาพในการสรรหาและ การบริหารจัดการครูต่างชาติ ตลอดจนการพัฒนา

คุณภาพของครูต่างชาติไปสู่ครูมืออาชีพ

2. การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนไทยในโครงการหลักสูตรสอง

ภาษาปัจจุบันยังไม่เหมาะสมกับธรรมชาติของการศึกษาของสังคมไทยและขาดการ

พัฒนา

3. ผู้ปกครองต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติประมาณปีละไม่น้อยกว่า 50,000 บาทเพื่อ

สนับสนุนให้ทางโรงเรียน(รัฐบาล)เพื่อดำเนินการจัดจ้างครูต่างชาติ สื่อการเรียนการ

สอนและอื่นๆสำหรับการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับประชากร

โดยทั่วไปที่จะรับภาระที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้ได้

จากการที่ผู้เสนอได้มีโอกาสบริหารจัดการโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่

จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในชนบทที่จังหวัดระยอง พบว่าชุมชนต้องการเน้นการเรียนการ

สอนภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะประกอบอาชีพในท้องถิ่นที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปสู่

แหล่งท่องเที่ยว แต่ผลการทดสอบมาตรฐานชาติ(NT) ในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2546 อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต

2 (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2 ,2547) ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้

ดำเนินการจัดทำโครงการการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณา

การ (English for Integrated Studies; EIS) ร่วมกับโครงการหลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัย

บูรพา ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษารูปแบบใหม่ ให้กับเยาวชนใน

ท้องถิ่นได้มีโอกาสเรียนแบบสองภาษาเช่นโรงเรียนดังๆในเมืองที่มีความเจริญและความพร้อม

ในการจัดการเรียน โดยพัฒนารูปแบบที่แตกต่างไปจากโรงเรียนสองภาษาที่จัดการเรียนอยู่ใน

ปัจจุบันทั่วๆไปซึ่งโดยส่วนใหญ่ต้องใช้ครูต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา(Native Speaker) หรือครู

ต่างชาติที่มีความรู้และสามารถใช้ภาษาอังกฤษเหมือนเจ้าของภาษามาเป็นผู้สอน (สำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2547) แต่โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา พัฒนาหลักสูตรสองภาษา

รูปแบบใหม่โดยใช้ชื่อว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ (English for

Integrated Studies : EIS) ซึ่งหลักการของหลักสูตรนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอนใน

สาระคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ รวม 50% ของเวลาเรียนทั้งหมด

ส่วนเวลาของสาระที่เหลือใช้ภาษาไทยเป็นสื่อ หนังสือประกอบการเรียนส่วนใหญ่ในรายวิชา

ดังกล่าวเป็นสื่อการเรียนการสอนจากประเทศสิงคโปร์เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ดำเนินการพัฒนา

ครูประจำการคนไทยโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา ที่เคยสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ปกติทั้งหมดให้มาเป็นผู้สอนในสาระวิชาดังกล่าวโดยใช้

ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนแบบบูรณาการ ซึ่งดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาครูร่วมกับโครงการ

บัณฑิตศึกษา หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งระยะเริ่มต้นวิธีการฝึกอบรมได้นำเอา

รายวิชาของหลักสูตรการศึกษาปริญญาโท TESL(Teaching English as a Second language) มา

ประยุกต์กับหลักการแนวทางของหลักสูตรEIS เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการดำเนินการ

ฝึกอบรมปฏิบัติการไปในระหว่างการจัดการเรียนการสอนจริงของครูตั้งแต่ภาคเรียนที่1 ปี

การศึกษา 2548 ตลอดจนจัดโอกาสให้ครูได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานต่างประเทศ รวมทั้งโรงเรียน

ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตรโดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนครูและนักเรียนกับโรงเรียน

ในต่างประเทศเพื่อเสริมประสบการณ์ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ

2. การออกแบบนวัตกรรมรูปแบบ EIS เพื่อการพัฒนา

แนวคิด ทฤษฎีและ กรอบแนวคิดของการพัฒนาหลักสูตร EISและพัฒนาครูโดยสรุปมีดังนี้

1. กรอบแนวคิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ (Constructivism) ประยุกต์หลักทฤษฎีการเรียนรู้

ภาษาที่สองของคราเชน(Krashen)และ แนวการจัดการศึกษาใน ระดับพื้นฐานของประเทศ

สิงคโปร์ในช่วงปีพ.ศ.2545-2550 เพื่อสนับสนุนสมมุติฐานการเรียนรู้สองภาษา รูปแบบ EIS ซึ่ง

หลักการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร EIS เน้นบูรณาการใน 3 หลักการคือ ภาษาอังกฤษที่

ใช้ต้องสั้น ง่าย และทำให้คุ้นเคยหรือหลัก SSF Model ใช้วิธีการเรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์

พื้นฐานอันได้แก่ ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนกกลุ่ม การเชื่อมโยงความรู้ และการ

สรุปผลแบบอ้างอิง หรือหลัก OK Model และหลักระเบียบวิธีคิดทางคณิตศาสตร์

(Mathematical Methodology Model) ซึ่งสามารถสรุปได้ดังสมมุติฐาน (Assumptions) ของ

การบูรณาการภาษาอังกฤษในการศึกษา เป็นดังนี้

(1) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาที่สองได้ดีจาก ภาษาแม่ ภาษาสัญลักษณ์ และ

สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว

(2) การที่ผู้สอนใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียน (Classroom English) ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

มากเท่าที่จำเป็นจะส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็นภาษาอังกฤษและใช้ภาษาได้เร็วขึ้น

(3) ถ้าจัดให้ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษโดยกระบวนการ

ทักษะพื้นฐานการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์รูปแบบOK Model อันได้แก่ ทักษะการ

สังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนกกลุ่ม การเชื่อมโยงความรู้ และการสรุปผลแบบ

อ้างอิง จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนอ่าน-เขียนภาษาและเข้าใจภาษาอังกฤษที่อ่านเร็วขึ้น

(4) ถ้าจัดให้ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ที่สื่อเป็น

ภาษาอังกฤษและฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่สัมพันธ์กันระหว่าง

สัญลักษณ์แทนจำนวนกับภาษาอังกฤษที่สื่อจะส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจการอ่าน

ภาษาอังกฤษ ได้เร็วยิ่งขึ้น(สุรพงศ์,2549,2550)

3. รูปแบบการอบรมพัฒนาครูใช้สมมุติฐานการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Andragogy) ของโนวล์

(Knowles) โดยเสนอแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ไว้ 8 ขั้นตอน

ดังนี้

(1) เตรียมผู้เรียนให้เหมาะสมกับโปรแกรมที่กำหนด

(2) สร้างบรรยากาศให้เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้

(3) ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ครบถ้วนตามแผนที่กำหนด

(4) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและวินิจฉัยในความต้องการการเรียนรู้ของเขา

(5) ให้ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนของเขา

(6) ให้ผู้เรียนออกแบบในการวางแผนการเรียน

(7) ดำเนินการให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปตามแผนที่วางไว้

(8) ให้ผู้เรียนได้ประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง (Swanson & Holton, 2001.p.158-

159)

สำหรับสาระหลักสูตรในการอบรมพัฒนาศักยภาพของครูไทยเพื่อให้ใช้ภาษาอังกฤษ

บูรณาการในการสอนในรายวิชาที่กำหนดตามหลักสูตร EIS มีดังนี้

(1) ทักษะพื้นฐานภาษาอังกฤษด้านการอ่านออกเขียนได้(Literacy) และการใช้คำถาม

ภาษาอังกฤษพื้นฐานตามกรอบแนวคิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ (Constructivism)

ของBloom Taxonomy

(2) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจในเนื้อหาสาระวิชาเฉพาะที่สอน

(3) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษในห้องเรียน (Classroom English)

(4) แนวคิดหลักการหลักสูตร EIS หลักสูตรสองภาษา และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ

หลักสูตรอื่นๆกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(5) เทคนิคการออกแบบการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องต่อ

เป้าหมายของหลักสูตรEIS หลักสูตรแกนกลางและศักยภาพของผู้เรียน และการฝึกปฏิบัติการ

สอนจริง

(6) ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษผ่านกระบวนการออกแบบการสอน

(7) เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลจากเก็บรวบรวมข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนจริงเพื่อ

การวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง PDCA

4. กระบวนการกำกับนิเทศติดตามและการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานเชิงระบบโดย

Stewart’s P-D-C-A Cycle (สุรพงศ์ งามสม. 2547, 2549)

5. หลักการประเมินผลผู้เรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4

มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความ

ประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปใน

กระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาและรูปแบบการศึกษา

โดยใช้กระบวนการตรวจสอบในรูปแบบ Stewart’s P-D-C-A Cycle(สุรพงศ์,2547)

3. ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนารูปแบบ EIS

การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้รูปแบบ EIS เริ่มต้นดำเนินการทดลองที่

โรงเรียนสุนทรภู่พิทยาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2547 นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3

ห้องเรียน 110 คน ใน วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้ครูภาษาอังกฤษและผู้รายงานเป็นผู้สอนในลักษณะ

สาธิตการสอนโดยใช้หนังสือคณิตศาสตร์จากประเทศสิงคโปร์ในระยะเวลา 2 เดือนนักเรียน

สามารถเรียนรู้ได้ มีความสุขต่อการเรียน ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ดี และ

ผู้ปกครองนักเรียนพึงพอใจ จึงได้ดำเนินการนำเสนอเข้าประชุมต่อคณะกรรมการหลักสูตรและ

วิชาการและจัดตั้งคณะทำงานเพื่อปรับหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน จัด

วางตัวผู้สอนและเตรียมสมรรถนะผู้สอน จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน และระบบวัด

และประเมินผลโดยใช้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการใน 4 กลุ่มสาระวิชา คือ คณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษในระดับชั้น ม. 1 และม.4 หลังจากนั้นนำปรึกษาต่อ

ผู้เชี่ยวชาญและเสนอขออนุมัติหลักการของหลักสูตร ต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และ

ดำเนินการประชาสัมพันธ์ต่อผู้เกี่ยวข้อง ในปีการศึกษา 2548 มีนักเรียนเข้าเรียนในม.1,2และ4

รวมทั้งสิ้น 276 คน ได้รับการเงินสนับสนุนจากผู้ปกครองนักเรียนโดยเฉลี่ยรายละ 1100 บาทต่อ

ภาคเรียนและเงินอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง600,00 บาท เพื่อดำเนินการ

พัฒนาศักยภาพของครูด้านการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนร่วมกับโครงการหลักสูตร

นานาชาติมหาวิทยาลัยบูรพาตลอดปีการศึกษา 2548 ตลอดจนส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาหลักสูตร

และกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบEIS และจัดหาสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนตาม

หลักการEIS โดยมีรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการพัฒนาอบรมครูที่ไม่เคยใช้ภาษาอังกฤษ

เป็นสื่อมาก่อน



ประสิทธิผลของการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน

รูปแบบ EIS สรุป ดังนี้ (สุรพงศ์ งามสม, 2549, 2550, 2551และดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือ

ประกอบการฝึกอบรมครู EIS และpower point นำเสนอ Focus Groupใน CD –ROM ที่แนบมา

พร้อมแล้ว)

1. ผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ของวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนในโครงการหลักสูตร

EIS สูงกว่านักเรียนในหลักสูตรปกติอย่างชัดเจนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สำหรับ

วิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน

2. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในสื่อสาร ความกล้าในการสื่อสารของนักเรียนในโครงการ

EIS มีมากกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่านักเรียนในหลักสูตรปกติอย่างชัดเจนทั้งระดับ

ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

3. ผลการเรียนรู้ด้านคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของ

นักเรียนในโครงการหลักสูตรEIS สูงกว่านักเรียนในหลักสูตรปกติ

4. ผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ในระดับประถมศึกษา

ของนักเรียนในโครงการหลักสูตรEIS เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มนักเรียนในโครงการ EP และ MEP

ไม่แตกต่างกัน แต่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กลับสูงกว่า

นักเรียนในโครงการEP

5. นักเรียนมีความชอบ มีความพึงพอใจ และสนใจในการเรียนรู้ในโครงการEIS ใน

ระดับมาก

6. ผู้ปกครองนักเรียน กรรมการสถานศึกษาและชุมชนให้ความสนใจต่อโครงการสูงมาก

7. ค่าใช้จ่ายสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับการศึกษาในโครงการหลักสูตรEIS ต่ำกว่า

โครงการ EP หรือ MEP อย่างมาก

8. ได้รูปแบบหลักสูตร ที่มีประสิทธิภาพดังองค์ประกอบคุณลักษณะและกระบวนการ

เรียนรู้ของหลักสูตรEISที่สำคัญดังนี้

(1) ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนในกลุ่มสาระวิชาต่างๆแบบบูรณาการเน้น

วิชาคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์เป็นแกนหลัก

(2) การกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ช่วงชั้นตามหลักสูตร EIS ในแต่ละกลุ่ม

สาระเป็นผลมาจากการสังเคราะห์มาตรฐานกลุ่มสาระและผลการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้นตาม

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นแกนกลาง

(3) โครงสร้างหลักสูตร EIS มาจากการสังเคราะห์แนวทางการจัดโครงสร้าง

เวลาเรียนและมาตรฐานตามข้อ (2) ข้างต้น

(4) หลักการจัดกระบวนการเรียนรู้เน้นบูรณาการใน 3 หลักการคือ SSF, OK

Model และ ระเบียบวิธีคิดทางคณิตศาสตร์ (Methodological Mathematics Model) ซึ่งสรุปได้ดัง

สมมุติฐาน (Assumptions) ของการบูรณาการภาษาอังกฤษ ดังกล่าวไว้แล้วข้างต้น

(5) การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนต้องคำนึงถึงพื้นฐานการ

อ่านออกเขียนได้(Literacy) ภาษาอังกฤษของผู้เรียน และสัมพันธ์กับองค์ประกอบตามคุณลักษณะ

ข้อ (2)-(4) ข้างต้นและการใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียน (Classroom English) เชื่อมเนื้อหาบทเรียน

ของแต่ละวิชาที่เป็นภาษาอังกฤษ

(6) สื่อหลักประเภทหนังสือเรียนและหนังสือประกอบการเรียนการสอนที่นำมา

ประยุกต์ใช้ เน้นในสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากหลักสูตรการศึกษาของประเทศ

สิงคโปร์

(7) ระดับความยากง่ายของภาษาอังกฤษให้ยืดหยุ่นสัมพันธ์กับสื่อที่เลือกใช้ตาม

ข้อ (6)

(8) กระบวนการเรียนการสอนของครูเน้นปรับวิธีสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะ

การเรียนรู้หรือวิธีเรียน โดยยึดทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบ OK Model และระเบียบวิธี

คิดทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐานในกระบวนการการเรียนรู้อันได้แก่ความ

ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน สามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยใช้กระบวนการวัดและ

ประเมินผลการเรียนทั้งความประพฤติ พัฒนาการการเรียน พฤติกรรมการเรียน และข้อทดสอบ

ควบคู่กันไปในกระบวนการการจัดการเรียนการสอนและประยุกต์ใช้ Stewart’s P-D-C-A Cycle

ติดตามผลการสอน

9. สามารถพัฒนาศักยภาพครูไทยที่มีประสบการณ์สอนในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

และคอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน(Non-English Speaking Teachers) มา

ก่อนให้มีสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนในวิชาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่แตกต่างจากครูต่างชาติที่สอนในโครงการ EP และ MEP โดยที่ครูไทยเหล่านั้นมีพื้นฐานความ

เข้าใจในวัฒนธรรมและบริบทของการศึกษาไทยอยู่แล้ว โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรม (On-thejob-

training) ตามคู่มือประกอบการฝึกอบรมครูรูปแบบEIS(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือ

ประกอบการฝึกอบรมครู EIS.ในCD-Rom)ซึ่งเน้นการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในรูปแบบ

EIS ให้เกิดความอยากที่จะพัฒนา พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ภาษาอังกฤษใน

ห้องเรียน การออกแบบแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบข้อ 1.1 (1)-(8)